การสกรีนเสื้อ คืออะไร? มีกี่แบบ? [อัพเดต 2024]

การสกรีนเสื้อคือการพิมพ์ลายแบบต่าง ๆ ลงบนเสื้อโดยตรง

การสกรีนเสื้อ คือการพิมพ์ลายแบบต่าง ๆ ลงบนเสื้อโดยตรง เป็นการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงบนกรอบที่ทำขึ้น มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ลงไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ลวดลายลงไป ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ช่วยให้สามารถพิมพ์ลงไปบนวัตถุที่มีรูปทรงแตกต่างกันได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะมีรูปทรงแบน กลม หรือเป็นสี่เหลี่ยมก็สามารถใช้การปาดหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนลงไปติดกับวัตถุเป้าหมายเหล่านั้น

ประวัติและวิวัฒนาการของการสกรีนเสื้อ

การสกรีน คือการใช้หมึกพิมพ์ลงไปบนวัตถุ เป็นเทคนิคที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เรียนรู้การใช้ฝ่ามือของตนเองประทับลงไปบนของเหลวอย่างเลือดหรือโคลน แล้วประทับลงไปบนวัตถุต่าง ๆ อย่างผนังถ้ำจนเกิดเป็นจิตรกรรมโบราณที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 

แม้ว่าเทคโนโลยีการสกรีนนั้นจะวิวัฒนาการมาหลายชั่วอายุคน แต่การปฏิวัติการพิมพ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพิมพ์แบบซิลค์สกรีนที่มีจุดเด่นที่ความง่าย สะดวกรวดเร็ว แต่ยังคงคุณภาพของงานที่มีความประณีต คงทนถาวร และมีความสวยงาม เทคนิคดังกล่าวจึงถูกใช้กับการสกรีนงานต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการสกรีนเสื้อ สกรีนร่ม หรือสกรีนลงบนวัตถุต่าง ๆ ตามแต่ที่ต้องการ

การสกรีนเสื้อ มีกี่รูปแบบ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การสกรีนเสื้อในรูปแบบที่นิยมมีอยู่ทั้งหมด 5 แบบ

กรรมวิธีการสกรีนเสื้อในปัจจุบัน มีมากมายหลายรูปแบบ แตกต่างไปกันกับจุดประสงค์ของการสกรีนเสื้อ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนที่ต้องการสกรีน ขนาดงานพิมพ์ เนื้อผ้าของเสื้อที่ต้องการสกรีน โดยวิธีหลัก ๆ จะมีอยู่ 5 รูปแบบ ที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังนี้ 

  1. รูปแบบซิลค์สกรีน (Silk screen)
  2. รูปแบบ DTG (Direct to Garment)
  3. รูปแบบ ซับลิเมชั่น (Sublimation)  
  4. รูปแบบ เฟล็ก (Flex)
  5. รูปแบบ DTF (Direct to Film)/ DFT (Digital Film Transfer)

รูปแบบซิลค์สกรีน (Silk screen)

เป็นการสกรีนด้วยบล็อคสกรีน ซึ่งเป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยม ขึงผ้าที่ฉลุด้วยลายพิมพ์ จากนั้นนำไปวางบนวัสดุที่ต้องการสกรีน แล้วปาดสีลงไป สำหรับ 1 บล็อค จะใช้สำหรับ 1 สี 

ขั้นตอนการสกรีน จะเริ่มด้วยการนำงานที่ต้องการสกรีน มาทำฟิล์มเพื่อแยกสี แล้วปริ้นส์ฟิล์ม สำหรับนำไปฉลุเป็นลายพิมพ์ สำหรับทำบล็อคสกรีน วิธีการพิมพ์ซิลค์สกรีน พิมพ์ได้ทั้งแบบการพิมพ์ด้วยมือ และ การพิมพ์ด้วยเครื่อง โดยทั่วไปนิยมการพิมพ์ด้วยมือ สำหรับการพิมพ์ในปริมาณไม่มากนัก การพิมพ์ด้วยเครื่อง สามารถพิมพ์หลายสีได้ดีกว่า เพราะน้ำหนักของการปาดหมึกพิมพ์ สามารถปรับตั้ง และควบคุมได้ตลอดการพิมพ์ ซึ่งการพิมพ์ด้วยมือทำ ได้ยาก เทคนิคของการพิมพ์ จะต้องอาศัยการฝึกทักษะปฏิบัติการพิมพ์จริงจึงจะสามารถพิมพ์ได้ดี

งานสกรีนรูปแบบซิลค์สกรีน เหมาะกับงานที่ใช้จำนวนเยอะ แต่สีไม่เยอะ ลวดลายเรียบง่าย มีหลายเทคนิคให้เลือก ทั้งสกรีนสีจม สกรีนสีนูน สกรีนสียาง สกรีนฟอยล์

รูปแบบ DTG (Direct to Garment)

เป็นการพิมพ์ลงบนผ้าโดยตรง โดยใช้เครื่องพิมพ์ Digital printer งานพิมพ์สีคมชัด สามารถพิมพ์กี่สีก็ได้ การทำงานของเครื่องเหมือนกับการพิมพ์ลายลงบนกระดาษ แต่เปลี่ยนจากกระดาษเป็นเนื้อผ้า การสกรีนบนเสื้อสีขาว จะถูกกว่าเสื้อสีเข้ม เนื่องจากเสื้อสีเข้มจะต้องทำการรองพื้นก่อน เพื่อให้ได้สีที่สดขึ้น

เหมาะกับงานที่จำนวนไม่มากนัก และต้องการความรวดเร็ว เนื่องจากหากงานที่มีจำนวนมาก จะทำให้มีต้นทุนการสกรีนสูงกว่างานพิมพ์แบบซิลค์สกรีน และมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อผ้า เนื่องจากหมึกรูปแบบนี้ จะสกรีนติดเฉพาะ ผ้าคอตตอนเท่านั้น 

รูปแบบ ซับลิเมชั่น (Sublimation)

เป็นการสกรีนลายลงบนกระดาษ Sublimation แล้วนำมาสกรีนลงบนผ้า โดยใช้เตารีด หรือเครื่องรีดร้อน (Heat transfer) ตัวหมึกจากกระดาษ จะระเหิดและซึมลงไปที่เนื้อผ้า

การพิมพ์แบบลงไปยังกระดาษด้วยน้ำหมึกซับลิเมชั่น กระบวนการทำงานจะเริ่มโดยการสั่งพิมพ์รูปลงไปยังบนกระดาษซับลิเมชั่น จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ไปวางทับลงบนผ้าแล้วรีดด้วยความร้อน 200  องศา โดยการกดทับเพื่อถ่ายเทตัวน้ำหมึกจากกระดาษลงบนเนื้อผ้า

การสกรีนรูปแบบซับลิเมชั่น (Sublimation) เหมาะกับงานไม่จำกัดสี บนผ้าสีอ่อน ชนิดผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เหมาะกับงานพิมพ์ทุกจำนวน มีข้อจำกัด คือไม่สามารถพิมพ์ลงบนผ้าคอตตอน และผ้าสีเข้มได้

รูปแบบ เฟล็ก (Flex)

เป็นการออกแบบงานผ่านคอมพิวเตอร์ จากนั้นนำไปตัดด้วยเครื่องตัด Flex แล้วรีดความร้อน เพื่อให้แผ่น Flex ละลายติดบนเสื้อ 

ขั้นตอนการสกรีน คือนำชิ้นงานที่ออกแบบเป็นลายเส้น ข้อความ รูปภาพ เบอร์เสื้อกีฬา ออกแบบด้วยโปรแกรม ใช้เครื่องตัดสติกเกอร์เป็นผู้ผลิตชิ้นงานที่ออกแบบ โดยตัดตามลายเส้น หรือข้อความตามที่เราต้องการ จากนั้นนำชิ้นงานที่ผลิตออกมา วางบนตำแหน่งที่ต้องการรีด ลงบนเสื้อผ้า ก่อนนำไปรีดลงบนเสื้อผ้าต่างๆ ด้วยเครื่องรีดความร้อน (Heat Transfer) รีดชิ้นงานแผ่นเฟล็กซ์กับเนื้อผ้าด้วยกัน แล้วลอกฟิล์มพลาสติกออกจากชิ้นงานนั้น

เป็นรูปแบบงานที่ใช้เวลาค่อนข้างเร็ว เนื้องานมีความสวยงาม แต่มีขนาดพิมพ์ที่ค่อนข้างจำกัด เนื้องานสกรีนจะหนัก ไม่ม่รูระบาย หากสกรีนในจำนวนที่เยอะ ต้นทุนจะมากกว่าซิลค์สกรีน

รูปแบบ DTF (Direct to Film)/ DFT (Digital Film Transfer)

เป็นการพิมพ์ภาพลงบนแผ่นฟิล์ม ด้วยหมึกสำหรับงานผ้า มีการรองขาว ทำให้ภาพโดดเด่นขึ้นมา สีไม่ดรอปไปกับเนื้อผ้า แต่มีข้อจำกัดคือเนื้องานที่อยู่บนผ้าจะทึบ ไม่มีรูระบาย

ขั้นตอนการสกรีน เริ่มจากนำรูปที่ต้องการพิมพ์เข้าโปรแกรมสั่งพิมพ์รูปผ่านเครื่องปริ้น DTF แล้วนำแผ่น PET Film ที่พิมพ์เสร็จแล้วนำมาโรยผงกาว แล้วร่อนผงกาวให้ทั่วแผ่นฟิล์ม ตัวเครื่องจะมีการโรยกาวลงบนหมึกสีขาวและทำการอบให้กาวละลาย จากนั้นสามารถนำแผ่นฟิล์มไปวางบนผ้าและรีดร้อนได้ทันที นำแผ่นฟิล

วัสดุที่ใช้ในการสกรีนเสื้อ

วัสดุที่ใช้สกรีนเสื้อ มี 2 แบบคือ สีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำ กับ สีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำมัน

โรงงานสกรีนเสื้อแต่ละเจ้าจะใช้สีสกรีนเสื้อที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับต้นทุนในการผลิต โดยทั่วไปแล้ว สีสกรีนเสื้อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ สกรีนเสื้อแบบเชื้อน้ำ และสีสกรีนเสื้อแบบพลาสติกซอล ซึ่งสีทั้งสองชนิดจะมีลักษณะการใช้งานและผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิตว่าอยากให้เสื้อสกรีนของคุณมีลักษณะแบบไหน

  1. สีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำ (water base screen ink) เป็นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวหลัก ในการทำละลายระหว่างเนื้อสี (pigment) และแป้งพิมพ์ (print paste) ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยที่แป้งพิมพ์จะมีส่วนผสมของสารยึดเกาะ ทำให้สีซึมเข้าเนื้อผ้าได้ง่าย สกรีนอยู่แน่น และติดทนกว่าสีสกรีนเสื้อแบบอื่น
  2. สีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำมันหรือที่เรียกกันว่า สีสกรีนเสื้อพลาสติซอล (Plastisol screen ink) เป็นสีที่มีส่วนผสมของ PVC (polyvinyl chloride) และ Plasticiser เป็นหลัก ใช้น้ำมันมาเป็นตัวทำละลาย ใช้ความร้อนเป็นตัวแปรในการอบสีให้แห้ง เมื่อสกรีนลงไปบนผ้าจะไม่ซึมเข้าไปในใยผ้า แต่จะเคลือบอยู่บนเส้นใยผ้า

การดูแลรักษาเสื้อที่สกรีนแล้ว

สำหรับการซัก การกลับเสื้อเอาด้านในออกมาด้านนอกก่อนซักทุกครั้ง จะช่วยให้เราถนอมเสื้อสกรีนได้มากกว่าเดิม ช้ถุงถนอมผ้าจะช่วยป้องกันไม่ให้ผ้าโดนแรงบิดขยี้โดยตรงจากการซัก ป้องกันไม่ให้เสื้อยืดย้วย และลดโอกาสที่ทำให้ลายสกรีนหลุดลอกหรือซีดจาง

การตาก ควรตากเสื้อสกรีนไว้ใต้แสงแดดอ่อน ๆ อย่างบริเวณชายคาของบ้านที่มีการกระทบของแสงแดดน้อยที่สุด ซึ่งถ้าหากมีลมผ่านด้วยจะดีมาก เพราะจะช่วยให้ผ้ามีสีสันกระจ่างใสได้เองตามธรรมชาติ ลายสกรีนสีสดสวย

ปัญหาสีจับหน้าบล็อกสกรีน

ปัญหาสีจับหน้าบล็อกสกรีนหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจจะทำให้ลายพิมพ์สกรีนไม่คมชัด ส่งผลทำให้การพิมพ์งานไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากสีที่อุดตันตามรูผ้าสกรีนจะทำให้การไหลลงของสีไม่สม่ำเสมอ ทำให้ต้องคอยเช็ดและทำความสะอาดคราบอุดตันเหล่านั้น ซึ่งวิธีแก้ปัญหาสีจับหน้าบล็อกสกรีน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 

  1. ปรับสีพิมพ์สกรีนให้แห้ง
  2. เก็บสีพิมพ์ออกจากลายพิมพ์ช้าลง

1.ปรับสีพิมพ์สกรีนให้แห้งช้าลง

ทำได้โดยปรับสีพิมพ์สกรีนให้แห้งช้าลง โดยการเติมน้ำมันกันบล็อกตัน SK-U หรือซิลิโคนออย์ล M-90DC ซึ่งวิธีนี้จัดว่าเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ โดยน้ำยาที่เติมลงไปจะทำให้สีหล่อลื่นดีขึ้น ลดการจับหน้าบล็อกทำให้สีอุดตันได้ยากขึ้น

2.เก็บสีพิมพ์ออกจากลายพิมพ์

ทำได้โดยเก็บสีพิมพ์ออกจากลายพิมพ์หรืออาจจะพักไว้ในบล็อกก็ได้ ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดทำการเช็ดสีที่ติดตามลายพิมพ์ออก จะสังเกตเห็นว่ามีฝ้าขาวติดตามรูผ้าสกรีน ซึ่งฝ้าขาวเหล่านี้เป็นตัวปัญหาที่ทำให้สีไหลผ่านรูผ้าสกรีนไม่ดี    หลังจากนั้นให้ใช้ผ้าชุบนำมันขัด/เช็ดบล็อก AC-662 บิดหมาด 2 ชิ้น แล้วขัดถูบริเวณที่อุดตันเบาๆ เพียงไม่นานรอยอุดตันก็จะหลุดไป สังเกตว่าบริเวณผ้าสกรีนที่ถูกขัดถูจะใสขึ้น จากนั้นก็สามารถพิมพ์งานได้ต่อไป

งานสกรีนไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ทราบ จำนวนที่ต้องการสกรีน ขนาดงานพิมพ์ เนื้อผ้าของเสื้อที่ต้องการสกรีน ขนาดของงานสกรีน ก็สามารถเลือกแนวทางการสกรีนที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้งานได้ 

หากต้องการงานสกรีน หรือรับคำปรึกษา “สมศรีมีเสื้อ” ผู้เชี่ยวชาญรับผลิตและสกรีนเสื้อ เสื้อโปโล ยูนิฟอร์ม เสื้อกีฬา เสื้อองค์กร ปัก สกรีนโลโก้ ตกแต่ง ออกแบบเสื้อได้ตามต้องการ ทำเสื้อทุกรูปแบบทุกประเภทให้คุณได้เลือกสรร เราใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ เพื่อให้ผลงานออกมาสวยงามตรงใจลูกค้า และเรายังมีเทคนิคการสกรีนที่หลากหลาย

แชร์โพสต์นี้