งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง เริ่มต้นใช้งบเท่าไหร่ [ฉบับมือใหม่ 2025]

งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง เริ่มต้นใช้งบเท่าไหร่ [ฉบับมือใหม่ 2025]

การเริ่มทำแบรนด์เสื้อถือเป็นการลงทุนที่นิยมในปัจจุบัน การทำแบรนด์เสื้อผ้า เกี่ยวข้องการตัดสินใจหลายประการ ตั้งแต่การเลือกวัสดุผ้าไปจนถึงการเลือกวิธีการพิมพ์ที่เหมาะกับแบรนด์มากที่สุด ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้แบรนด์มีความโดดเด่น คือการออกแบบและวิธีการพิมพ์ลงบนผ้า การพิมพ์สกรีนยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยม เนื่องจากความทนทานและความหลากหลาย ซึ่งหลายๆ คนที่อยากเริ่มทำแบรนด์เสื้อก็ตั้งคำถามว่า งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง จะต้องใช้งบเท่าไหร่ จะได้ประมาณการได้

บทความนี้เราจะมาเจาะลึก ทำเสื้อแบรนด์ตัวเองใช้งบประมาณเท่าไหร่กันแน่ และต้องใช้ส่วนไหนบ้าง

กระแสการทำเสื้อแบรนด์เสื้อของตัวเอง

ในปัจจุบันที่หลายคนเริ่มหันมาทำธุรกิจเป็นของตัวเอง ทั้งทำเพื่อเป็นรายได้เสริมจากการประจำ หรือเป็นรายได้หลักจากงานประจำ บางคนอาจจะเริ่มทำแบรนด์จากการที่อยากมีเสื้อผ้าที่ถูกใจตัวเองแบบสุด ๆ หรือเห็นเทรนด์บางอย่างของตลาด ที่เป็นโอกาสในการทำธุรกิจแบรนด์เสืื้อผ้า

แต่การที่จะเริ่มแบรนด์เสื้อผ้าขึ้นมา บางคนอาจจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มยังไงดี ต้องเตรียมเงินทุนไว้เท่าไหร่ วันนี้เราจะมาช่วยให้ว่าที่เจ้าของแบรนด์ มองเห็นภาพมากขึ้น

การวางแผน งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง

ปัจจุบัน การเริ่มผลิตเสื้อผ้า สามารถผลิตได้เริ่มต้นได้ในจำนวนที่น้อยมาก ประมาณ 5-10 ตัวด้วยซ้ำ 

หากเป็นการทำเสื้อ ที่มีแบบอยู่แล้ว เป็นการนำไปสกรีน หรือปักเท่านั้น ด้วยงบประมาณเริ่มต้น 5,000 บาท สามารถทำได้ แต่หากเป็นการออกแบบรูปแบบเสื้อใหม่เลย งบประมาณอาจจะอยู่ที่ 10,000 บาทขึ้นไป

เนื่องจากเสื้อผ้า เป็นสิ่งที่มีหลายไซต์ หลายรูปแบบ ซึ่งส่งผลต่อจำนวนการผลิตเสื้อผ้าในแต่ละล็อต เจ้าของแบรนด์ควรทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ตัวเองคือใคร ที่จะส่งผลไปในการผลิต หลาย ๆ แบรนด์เลือกที่จะทำเสื้อผ้าเป็นขนาดฟรีไซส์ จะได้หมดปัญหาเรื่องการสต็อกเสื้อผ้าหลายไซต์ 

งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง เราต้องคิดเรื่องค่าออกแบบด้วย

ต้นทุนในการออกแบบ 

ขั้นตอนของการออกแบบ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ขั้นตอนหนึ่งของการทำแบรนด์เสื้อผ้า ที่จะเป็นจุดวัดว่า แบรนด์เสื้อผ้าของเราจะมีความโดดเด่น ไม่ซ้ำใคร มีความสวยงามและคุณภาพที่ดี เหมาะสมตามจุดประสงค์ของแบรนด์ที่เราวางแผนไว้หรือไม่ 

ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเสื้อผ้า จะมีอยู่หลายส่วนด้วยกัน ในส่วนแรกคือ

ค่าออกแบบ

รูปแบบของการออกแบบ มีตั้งแต่เบื้องต้น ที่เจ้าของแบรนด์มีโลโก้ หรือลวดลาย แบบต่าง ๆ ที่ต้องการนำไปสกรีนหรือปัก ในส่วนนี้ต้องการเป็นการให้โรงงานเป็นผู้วางแบบให้ สำหรับค่าใช้จ่าย จะขึ้นอยู่กับร้านหรือโรงงานที่ทำการผลิต 

สำหรับการออกแบบเสื้อในปัจจุบัน สามารถหาฟรีแลนซ์เพื่อจ้างในการออกแบบได้ง่ายในแพลตฟอร์มฟรีแลนซ์ต่าง ๆ ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 700 บาท ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืด ลายผ้าทอ เสื้อโปโล้ โลโก้ต่าง ๆ 

ค่าแพทเทิร์น

จะอยู่ที่ 200-2,000 บาทต่อแบบต่อไซต์ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแบบ รวมทั้งผ้าที่นำมาใช้ โดยรูปแบบของแพทเทิร์นที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าของแบรนด์ จะเป็นการทำแพทเทิร์นอุตสาหกรรมหรือแพทเทิร์นสำเร็จรูป เป็นการวัดขนาดจากมาตรฐานระดับสากล ผู้คนเลือกซื้อและสวมใส่ได้ง่าย แถมยังใช้ต้นทุนต่ำ 

ความจำเป็นในการมีแพทเทิร์นเสื้อผ้าคือ ทำให้การนำเสื้อผ้าไปผลิตจำหน่ายจริง มีความง่ายมากขึ้น รวมทั้ง รูปแบบเสื้อผ้า มีความสวยงาม สวมใส่ง่าย และแพทเทิร์นที่มีแล้ว แบรนด์สามารถนำไปใช้ได้ยาว ๆ 

ค่าขึ้นตัวอย่างงาน

ในหลาย ๆ ร้านหรือโรงงานผลิตเสื้อผ้า จะมีการผลิตตัวอย่างงานก่อนเริ่มทำการผลิตจริง เพื่อให้เจ้าของแบรนด์ได้เห็นงานจริงก่อนเริ่มผลิต ให้ภาพจริงก่อนเริ่มผลงาน รวมถึงในบางครั้ง การขึ้นงานจริง สามารถขึ้นงานจากผ้าหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อเลือกชนิดผ้าที่เหมาะสมของงานนั้น ๆ ได้อีกด้วย  ค่าขึ้นตัวอย่างขึ้นตัวอย่าง จะเริ่มต้นที่ 300 – 1000 บาท

ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทั้งหมด จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 – 4,000 บาท

ต้นทุนการผลิต

เมื่อแบรนด์เสื้อมีการออกแบบเรียบร้อยแล้ว มีตัวอย่างงานที่พร้อมนำไปผลิตจริงแล้ว ต้นทุนที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ จะเป็นต้นทุนในการผลิตเสื้อผ้าจริง เพื่อนำไปจำหน่ายในตลาด ต้นทุนการผลิต จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

การเลือกผ้า

ราคาของผ้าแต่ละชนิด มีความแตกต่างกัน โดยสามารถเรียงจากถูกไปแพงได้ดังนี้

  • TK – ถูกที่สุด เป็นเส้นในสังเคราะห์ มีความทนทานต่ำ
  • TC Blends – ผ้าผสมโพลีเอสเตอร์-คอตตอน ราคาถูกกว่าคอตตอนแท้
  • TC Lacoste – เป็นผ้า TC แบบมีเท็กซ์เจอร์ แพงกว่าเล็กน้อย
  • Cotton Semi – คอตตอนเกรดต่ำกว่า ราคาถูกกว่าคอตตอนแบบหวี
  • Cotton Comb 20 (คอตตอนแบบหวีหยาบกว่า ราคาถูกกว่าคอตตอนแบบหวีละเอียด)
  • Cotton Comb (คอตตอนแบบหวีคุณภาพสูงกว่า ละเอียดกว่า)
  • Dry Tech (ผ้าเทคนิคที่ระบายความชื้นได้ โดยปกติราคาปานกลาง)
  • Supersoft (ผ้าพรีเมียม มักแพงที่สุด)

แต่อย่างไรก็ตาม ประเภทของผ้าที่เลือกใช้ในแบรนด์เสื้อผ้า ควรสอดคล้องกับการใช้งานที่ต้องการและการออกแบบของแบรนด์เสื้อผ้า 

เสื้อผ้าลำลองและสวมใส่ในชีวิตประจำวัน: Cotton Comb, Cotton Semi, Supersoft

เสื้อผ้ากีฬาและชุดกีฬา: Dry Tech, TC blends

เสื้อผ้าระดับพรีเมียมและหรูหรา: Supersoft, Cotton Comb

เสื้อโปโลและเสื้อผ้ากึ่งทางการ: TC Lacoste, Cotton Comb 20

ตัวเลือกราคาประหยัด: TK, TC blends

การตัดเย็บ

ประเภทของการตัดเย็บ เริ่มตั้งแต่การตัดเย็บแบบสั่งตัด (Bespoke Tailoring) การรูปแบบนี้ ถือเป็นจุดสูงสุดของการปรับแต่งเสื้อผ้า โดยจะตัดเย็บเสื้อผ้า เฉพาะบุคคล รูปแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับการตัดสำหรับงานในตลาดแมส 

การตัดเย็บที่เหมาะสมกับงานในรูปแบบแมสหรือตลาดทั่วไป จะไปในรูปแบบการตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรม (Industrial Tailoring) ลงไป เน้นการผลิตขนาดใหญ่ การตัดเย็บเสื้อผ้าอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรเย็บผ้าอัตโนมัติและสายพานประกอบเพื่อสร้างชุดยูนิฟอร์ม ชุดทำงาน และเสื้อผ้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

งบประมาณจากรูปแบบการตัดเย็บ ต้องคิดต้นทุนเมื่อทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง

การสกรีน

รูปแบบการสกรีนของเสื้อ มีผลต่อต้นทุนในการผลิต ต้นทุนของการสกรีนแต่ละรูปแบบ สามารถเรียงลำดับจากต้นทุนต่ำไปต้นทุนสูงได้ดังนี้

  • การสกรีนแบบ Sublimation – ต้นทุนต่ำ แต่ใช้ได้กับโพลีเอสเตอร์หรือผ้าสีอ่อนเท่านั้น
  • การสกรีนแบบ Flex – ราคาไม่แพง เป็นรูปแบบงานที่ใช้เวลาค่อนข้างเร็ว เนื้องานมีความสวยงาม แต่มีขนาดพิมพ์ที่ค่อนข้างจำกัด เนื้องานสกรีนจะหนัก ไม่มีรูระบาย หากสกรีนในจำนวนที่เยอะ ต้นทุนจะมากกว่าซิลค์สกรีน
  • การสกรีนแบบ DTF / DFT (การถ่ายเทความร้อนโดยตรงบนฟิล์ม / การถ่ายเทความร้อนด้วยฟิล์มดิจิทัล) – ต้นทุนปานกลาง มีข้อจำกัดคือเนื้องานที่อยู่บนผ้าจะทึบ ไม่มีรูระบาย
  • การสกรีน ซิลค์สกรีน (Silk screen) – ต้นทุนเริ่มต้นสูงกว่าเนื่องจากต้องผลิตบล็อกสกรีน แต่คุ้มต้นทุนสำหรับการสกรีนเสื้อจำนวนมาก
  • การพิมพ์ลงบนผ้าโดยตรง (DTG) – มีราคาแพงเนื่องจากต้นทุนหมึกและเครื่องจักร เหมาะที่สุดสำหรับงานออกแบบที่มีรายละเอียดเยอะและผลิตในจำนวนน้อย

ปริมาณการสั่ง

ในการผลิตสินค้าทุกรูปแบบ ไม่เว้นแม้แต่เสื้อผ้า ปริมาณการสั่งเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลต่อต้นทุนของวัสดุไม่มากก็น้อย ในส่วนของวัสดุคือเนื้อผ้า หากผลิตจำนวนมาก ราคาผ้าก็ถูกลง

แม้ในปัจจุบัน การสกรีนเสื้อบางรูปแบบ สามารถทำได้ตั้งแต่ 1 ตัว แต่ควรเลือกการสกรีนที่เหมาะสมกับเนื้อผ้า และเหมาะสมกับจำนวนที่ต้องการสกรีน สามารถเลือกประเภทที่เหมาะสม จากการสกรีนในจำนวนน้อย ไปจำนวนมาก ได้ดังนี้

  • Direct to Garment (DTG) – ดีที่สุดสำหรับสกรีนในจำนวนน้อย  ไม่ต้องเสียค่าบล็อกพิมพ์
  • การสกรีนแบบ DTF / DFT (การถ่ายเทความร้อนโดยตรงบนฟิล์ม / การถ่ายเทความร้อนด้วยฟิล์มดิจิทัล) – ดีสำหรับปริมาณการพิมพ์น้อยถึงปานกลาง ใช้งานได้หลากหลายบนผ้าหลายชนิด
  • การสกรีนแบบ Flex – เหมาะกับงาน custom ในจำนวนน้อย เช่น การใส่ชื่อ/หมายเลขบนเสื้อ
  • การสกรีนแบบ Sublimation – ใช้ได้ดีกับปริมาณน้อยถึงปานกลาง แต่เหมาะกับงานไม่จำกัดสี บนผ้าสีอ่อน ชนิดผ้าโพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์เป็นส่วนใหญ่
  • การสกรีน ซิลค์สกรีน (Silk screen) – เหมาะที่สุดสำหรับงานเสื้อปริมาณมาก แต่ไม่คุ้มต้นทุนสำหรับปริมาณน้อย เนื่องจากมีต้นทุนในการทำบล็อก

โดยงบประมาณในการผลิตสินค้าออกมาขาย สามารถเริ่มต้นได้ด้วยทุน 5,000 บาท หากไม่มีทุนมาก ในปัจจุบันยังสามารถเปิดพรีออเดอร์ให้ลูกค้ามัดจำเข้ามาก่อนที่จะเริ่มผลิต 

งบการทำการตลาด การทำสื่อ

การโปรโมทแบรนด์เสื้อใหม่ เป็นไปได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย ที่นิยมในปัจจุบัน จะเป็นช่องทางออนไลน์เป็นหลัก งบประมาณสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 0 บาท สำหรับผู้ที่มีตัวตนอยู่ในโซเชี่ยลมีเดียอยู่แล้ว 

สำหรับผู้ที่ต้องการโปรโมทแบรนด์เสื้อผ้า ตามหลักแล้ว ควรทำการโปรโมท โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายของยอดขายที่แบรนด์ต้องการ จากแผนธุรกิจ การวิจัยตลาด การวิเคราะห์คู่แข่ง 

สำหรับธุรกิจแฟชั่น โดยปกติจะใช้งบประมาณในสำหรับการตลาดและโปรโมชั่น อยู่ที่ 5-15% ของยอดขายที่ประมาณการไว้ ในช่วงแรกอาจจะกำหนดเป็นช่วงเดือนก่อน เพื่อปรับงบประมาณตามความเหมาะสม โดยเริ่มที่เปอร์เซ็นน้อยก่อนได้

สำหรับการออกแบบโลโก้ หากสามารถทำเองได้โดยไม่มีต้นทุน หรือหากจ้างออกแบบ ก็สามารถจ้างออกแบบในช่วงราคาเริ่มต้นที่ 1500 บาท

งบประมาณอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

นอกเหนือจากต้นทุนของการเตรียมการสร้างแบรนด์ ขั้นตอนการออกแบบ งบการทำการตลาด การทำสื่อหลังเพื่อโปรโมทแล้ว

ในส่วนของขั้นตอนการผลิต อาจจะมีต้นทุนแฝงบางอย่างเกิดชึ้นได้เช่นกัน ในการผลิต 100 ตัว อาจจะมีสินค้าที่แบรนด์ตรวจสอบแล้วไม่ผ่านมาตรฐาน (Defect) จากการผลิตเกิดขึ้น บางแบรนด์อาจจะมีการรวบรวมสินค้าเหล่านี้ไว้ และมีช่วงที่นำมาปล่อยขายเป็นสินค้าลดราคาเป็นช่วง ๆ ก็ยังสามารถคืนต้นทุนบางส่วนมาได้เช่นเดียวกัน

รวมถึงยังมีค่ารีด ค่าแพ็คสินค้า ค่าบรรจุภัณฑ์ ทั้งบรรจุภัณฑ์สินค้าโดยตรง บรรจุภัณฑ์ในการจัดส่งไปหาลูกค้า หรือบรรจุภัณฑ์จัดส่งไปยังสถานที่ขายสินค้า

สรุปรวม งบประมาณ ทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง เบื้องต้น

  • ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบทั้งหมด จะเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 – 4,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า เริ่มต้น 5,000 บาท
  • ออกแบบโลโก้แบรนด์ 1,500 บาท

ในส่วนของการเริ่มทำแบรนด์ จะเริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 บาท

ที่สมศรี เรารับทำเสื้อแบรนด์ตัวเอง

สำหรับใครที่กำลังต้องการผลิตเสื้อแบรนด์ตัวเอง แต่ไม่รู้จะไปทางไหนดี ขอแนะนำให้รู้จักกับ   “สมศรีมีเสื้อ” ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับผลิตเสื้อแบบครบ จบ ในที่เดียว บริการตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โดยเราสามารถออกแบบตามที่คุณต้องการไม่ว่าจะเป็นเสื้อชนิดไหน ตอ้งการวัสดุประมาณไหน แนวอะไร เรายินดีให้คำปรึกษาอย่างเต็มที่ เพื่อผลิตเสื้อแบรนด์คุณเองให้ตรงตามความต้องการของคุณได้อย่างลงตัวมากที่สุด

หากอยากลดทุกปัญหาจุกจิก ค่าใช้จ่ายแฝงที่อาจบานปลายในภายหลัง แต่ค่าแบบ ค่าบล็อค ค่าแพทเทิร์น “สมศรีมีเสื้อ” เรามีบริการครบ จบ ทุกเรื่องผ้า ไม่จำเป็นต้องไปหลายที่ให้เสียเวลา เพียงแค่ให้เรารับจบ 

แชร์โพสต์นี้